ส่วนประกอบของ Blog
1.ชื่อบล็อก (ฺBlog Title)
ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อของบล็อกนั้น ๆ
2.วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)
เป็นวันที่ และมีเวลากำกับอยู่ด้วยตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไห ร่
3.ชื่อบทความ (Entry Title)
ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
4.ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)
อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรือแอนิเมชั่น โดยส่วนประกอบ เหล่านี้จะรวมเป็นเนื้อหาของบทความ
5.คอมเม้นต์ (Comment tag)
เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอก คอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่าน คอมเม้นต์ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา
6.ปฏิทิน (Calendar)
บล็อกบางแห่งอาจมีปฏิทินอยู่ด้วยโดยใน ปฏิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่เพื่ออ่าน บทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวก
7.บทความย้อนหลัง (Archives)
บทความเก่า หรือบทความย้อนหลังอาจมี การจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อกโดยบล็อก แต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลังไม่ เหมือนกันเช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
KM
วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ความหมาย KM
ความหมาย KM
การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งที่ย่อมาจากคำว่า “Knowledge Management”
Knowledge Management หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า KM นั้นก็คือแนวทางการบริหารแนวทางการทำงานภายในองค์กรเพื่อทำให้เกิดการนิยาม ความรู้ขององค์กรขึ้น และทำการรวบรวม, สร้าง, และกระจายความรู้ขององค์กร ไปให้ทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้เกิดการต่อยอดของความ รู้, นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรขึ้น คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลความรู้ คืออะไร ?
ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือ การปฏิบัติ องค์วิชาในแต่ละสาขา (ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
รูปแบบของความรู้ เป็นอย่างไรบ้าง ? รูปแบบของความรู้ มี 2 ประเภท คือ
เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่างๆ เช่น VCD DVD Internet เทป เป็นต้น และบางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม
2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครั้งจึงเรียกว่า ความรู้แบบนามธรรม
2. ส่วน "ตัวปลา" (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง "คุณอำนวย" จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ "คุณกิจ" มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว "คุณกิจ" พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
3. "ส่วน "หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้" ที่ได้จากการเก็บสะสม "เกร็ดความรู้" ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ตัวปลา" ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ "หางปลา" นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้
แนวทางที่ 2 เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เช่น ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า ประสบการณ์ความรู้ที่สั่งสมมา
แนวทางที่ 3 เป็นปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ และสามารถนำ KM มาช่วยได้
แนวทางที่ 4 เป็นแนวทางผสมกันระหว่างแนวทางที่ 1 , 2 หรือ 3 หรือจะเป็นแนวทางอื่นที่องค์กรเห็นว่าเหมาะสม
1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
ในชีวิตจริง ความรู้ 2 ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit
"โมเดลปลาทู" เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วน คือ
1. ส่วน "หัวปลา" (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า "เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?" โดย "หัวปลา" นี้จะต้องเป็นของ "คุณกิจ" หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี "คุณเอื้อ" และ "คุณอำนวย" คอยช่วยเหลือ
ขอบเขตและเป้าหมาย KM เป็นอย่างไรบ้าง ?
ก่อน ที่จะมีจัดการความรู้ หรือทำ KM จะต้องมีการกำหนดขอบเขต และเป้าหมาย KM ก่อน ซึ่ง ขอบเขต KM เป็นหัวเรื่องกว้างๆ ของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่น ดิน ซึ่งต้องการจะนำมากำหนดเป้าหมาย KM ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถใช้แนวทาง ในการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย KM เพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กรได้ 4 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 เป็นความรู้ที่จำเป็นและสนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร
วีดีโอเกี่ยวกับการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ KM
โมเดลปลาทู
กรอบแนวคิด การจัดการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้
Dropbox คืออะไร? |
Dropbox เป็นเครื่องมือที่ทำให้สามารถ เรียกใช้ ไฟล์งานต่างๆ ของเราเอง หน่วยงานเพื่อ share file ได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งไหน ใช้คอมพิวเตอร์ Notebook, PC หรือ มือถือ ก็สามารถเข้าถึงไฟล์งานได้อย่างง่ายดาย และตรงกันเสมอ ไม่ว่าจะมีการเพิ่ม ลด แก้ไข ไฟล์ใดๆ ใน Folder ของ Dropbox
Dropbox ดีอย่างไร? Dropbox มีข้อดีต่างๆ มากมาย ที่ช่วยให้ชีวิตประจำวัน หรือการทำงานสะดวกยิ่งขึ้น ดังนี้
ทำให้ตรงกัน (Synchronize) Dropbox จะทำไฟล์ใน Folder Dropbox ให้ ‘ตรงกันเสมอ’ (Synchronize) โดยมีพื้นที่ฟรีให้มากถึง 2GB และใช้ได้ทั้งบน Windows, Mac, Linux, มือถือ และ Web-based. ไม่ว่าไฟล์ๆ นั้น จะถูกแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อใด Dropbox จะรู้และ Update ให้กับเครื่องอื่นๆ อัตโนมัติทันที
แบ่งปันไฟล์ (File Sharing) แชร์โฟลเดอร์ต่างๆ ให้กับคนอื่นๆ เพื่อให้ ‘ทำงานร่วมกันได้’ (Collaboration) นอกจากนี้ ยังสร้าง Public Link ให้ผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย สำรองข้อมูล (Online Backup) Dropbox ทำให้คุณหมดห่วงเรื่อง สำรองข้อมูล เพราะ Dropbox ทำให้คุณอย่างอัตโนมัติโดยคุณไม่ต้องกังวลใดๆ เลยเข้าผ่านเว็บไซต์ (Web Access) ไฟล์อีกชุดนึง จะเก็บไว้บน Internet เพื่อให้คุณเข้าถึงไฟล์ได้ทุกสถานที่ ที่ Internet สามารถเชื่อมต่อได้ และมีความปลอดภัยสูง
ต้องมี account gmail เพื่อการใช้งาน สามารถ download software มาติดตั้งที่เครื่องและเริ่มใช้งานได้ทันที
สอนใช้ dropbox 👇
Google Drive |
Google Drive เป็นบริการจาก Google ที่ทำให้เราสามารถนำไฟล์ต่าง ๆ ไปฝากไว้กับGoogle โดยวิธีการที่เรียกว่า Upload ซึ่งทำให้เราสามารถใช้ไฟล์เหล่านั้นที่ไหนก็ได้ที่มีอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงแค่ฝากไฟล์ได้เท่านั้นคุณยังสามารถ สามารถแบ่งปันไฟล์กับคนที่ต้องการ และสามารถแก้ไขร่วมกันได้จากอุปกรณ์ทุกประเภท สำหรับพื้นที่ ๆ Googleให้เราใช้บริการฟรีนั้นอยู่ที่ 15 GB และหากต้องการพื้นที่มากขึ้นสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่นี่https://support.google.com/drive/answer/2375123?hl=th สนใจอ่านวิธีใช้แบบฟรี ๆ ได้เลยครับขั้นตอนการใช้ Google Drive
การใช้งาน Google Drive นั้นเริ่มต้นง่าย ๆ เพียงแค่คุณสมัคร Gmail หากคุณยังไม่เคยสมัคร แนะนำให้สมัคร เนื่องจากสมัคร Gmail เพียง Account เดียว ทำให้สามารถใช้บริการต่าง ๆ ของGoogle ได้อย่างมากมาย รวมถึง Google Drive ด้วย หากท่านใดยังไม่เคยสมัคร คลิกที่นี่ เพื่อสมัคร Gmail และเมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาดูขั้นตอนการใช้งาน Google Drive กันต่อเลย
ติดตามบทความการใช้ GoogleDrive บน Smartphone ได้ที่ http://google-drive365.blogspot.sg/
เริ่มจากเปิดโปรแกรม Web Browser ของคุณขึ้นมา และเข้าไปที่เว็บไซต์ https://drive.google.com/start?continue=https://drive.google.com/%23#home จากนั้นคลิกปุ่ม ลงชื่อเข้าใช้งาน
ปรากฏหน้าเข้าสู่ระบบขึ้นมา ให้ใส่ชื่อ Email และ Password ของเราลงไป เสร็จแล้วคลิกปุ่ม ลงชื่อเข้าใช้
จะเข้าสู่หน้าเว็บเพจของ Google Drive ซึ่งเพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ผมอยากให้คุณ ๆ ได้ลองใช้งานโดยการติดตั้ง Google Drive ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมได้ทดลองแล้วรู้สึกชอบเลยนำมาแนะนำให้ได้ลองใช้งานกันดู สำหรับวิธีการนั้นง่ายมาก ๆ โดยเมื่อเข้าสู่หน้าเว็บเพจของ Google Drive เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่เมนู ไดรฟ์ของฉัน สังเกตว่าจะมีปุ่มสีฟ้า ๆ ชื่อติดตั้ง Google ไดรฟ์สำหรับพีซี อยู่ คลิกที่ปุ่มดังกล่าว 1 ครั้ง
แสดงหน้าต่าง Download Google Drive for Windows ขึ้นมา คลิกปุ่ม Accept and Install
เข้าสู่กระบวนการติดตั้ง Google Drive
เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะปรากฏหน้าต่างตามภาพด้านล่าง
ปัจจุบันมีการใช้ Smartphone กันอย่างกว้างขวาง หากคุณสมัครใช้บริการของ Google Drive เสร็จเรียร้อยแล้ว คุณสามารถติดตั้ง App เพื่อใช้งาน Google Drive ได้ทันที ติดตั้ง App >>คลิกที่นี่<<
บทความที่เกี่ยวข้อง
- การสร้างโฟลเดอร์ใน Google Drive
- การย้ายไฟล์ใน Google Drive
- การใช้ Google Drive บน PC
- การสร้างเอกสารบน Google Drive
- การใช้งาน Dropbox
- การใช้งาน Mimedia
- การใช้งาน Box
- ขั้นตอนการสมัคร Gmail
Mediafire
บทความนี้เป็นการอธิบายการใช้งาน Mediafire เพื่อให้คุณเข้าใจ และสามารถใช้งาน Mediafire ได้เต็มความสามารถ เพราะเว็บไซต์ Mediafire มีการออกแบบหน้าเว็บเพจที่ทำให้เราสามารถบริการจัดการ File และ Link ที่ค่อนข้างละเอียด สำหรับคุณที่ใช้ คอมพิวเตอร์และ อินเตอร์เน็ต จนคุ้นเคยอาจจะมองว่าง่าย แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้งาน อาจแลดูว่ายาก และไม่อยากใช้งาน ก็จะทำให้เราเสียโอกาสอย่างน่าเสียดาย
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.mediafire.com แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Login
Your Email Address: ใส่ E-mail ที่เราใช้ในการสมัคร mediafire
Password : ใส่รหัสผ่านที่เราได้ตั้งไว้
Remember me on this computer หากเราคลิ๊กเลือกหมายถึงให้จำ E-mail และ รหัสผ่านไว้ที่เครื่องนี้ เมื่อเรามาใช้ในครั้งต่อไปจะได้ไม่ต้องกรอกข้อมูลอีก (หากไม่ใช่เครื่องส่วนตัวไม่ควรเลือกหัวข้อนี้ เพราะคนอื่นอาจเข้ามาใช้งาน หรือดูข้อมูลใน mediafire ของเราได้) จากนั้นคลิ๊กที่ปุ่ม Login to MediaFire เพื่อเข้าสู่ Account ของเรา
2. เมื่อเราเข้ามาใน account ของเราเรียบร้อยแล้ว ให้สังเกตที่มุมบนขวามือของหน้าเว็บ Mediafire จะปรากฎ E-mail ที่เราใช้สมัคร แสดงว่าเรา Login หรือเข้าสู่ระบบได้ถูกต้อง ตามภาพด้านล่าง
3. สังเกตว่าตอนนี้เราอยู่ที่หน้าของ Upload Files ซึ่งจะเห็นว่าสีพื้นของปุ่ม Upload Files เป็นสีขาว ตอนนี้เราก็พร้อมที่จะ upload file ได้แล้วครับ
4. เริ่มทำการ Upload File โดยการคลิ๊กที่ปุ่ม Upload Files To MediaFire
5. จะปรากฎหน้าต่าง Select file เพื่อให้เราค้นหาไฟล์ที่ต้องการ upload จากนั้นคลิ๊กเลือกไฟล์ที่ต้องการ upload แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Open
6. จะปรากฎหน้าต่างรายงานจำนวน File ที่เราได้ Upload ขึ้นไปบน Mediafire
ส่วนทางด้านขวามือของหน้าต่างเดียวกันนี้จะมีปุ่มให้เราสามารถบริหารจัดการ File ได้ตามภาพด้านล่าง
Add more files : ใช้เมื่อต้องการ Upload File อื่น ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เราได้เลือกไปก่อนหน้านี้
Remove all files : ใช้สำหรับลบ File ที่เรา Upload
Cancel upload : ใช้เมื่อต้องการยกเลิกการ Upload
Start Upload : ใช้เมื่อเราเลือก File ที่จะ Upload เรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการ Upload ตามขั้นตอน
สำหรับในบทความนี้ให้คลิ๊กที่ Start Upload ได้เลยเพราะจะเป็นการทดลอง Upload File เดียว
7. เราสามารถเลือกที่จะ upload file ไปยัง Folder ที่มีอยู่ หรือจะสร้างขึ้นเองก็ได้ ในที่นี้คลิ๊กเลือก My Files (main folder) ซึ่งเป็น Folder ที่ Mediafire สร้างให้มา
จะมีรายงานการ Upload เป็นเปอร์เซ็นให้เราสังเกต
เมื่อครบ 100 เปอร์เซ็น จะเข้าสู่กระบวนการ verify ให้รอสักครู่หนึ่ง
เมื่อ verify เสร็จจะมีรายงานเกีี่ยวกับไฟล์ที่ upload เสร็จเรียบร้อย
จากนั้นคลิ๊กที่ปุ่ม View Uploaded Files เพื่อดูรายงานการ Upload ของเรา
ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ระบบจัดการเอกสาร (อังกฤษ: Document management system) คือ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ กลุ่มของโปรแกรมภาษาทางคอมพิวเตอร์(Document Management Software) ที่ใช้ในการติดตามและเก็บบันทึกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ รูปภาพประกอบเอกสาร โดยใช้แนวคิดของ ระบบการจัดการเนื้อหา (Content management system ,CMS) ซึ่งมักจะถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบของระบบการจัดงานภายในองค์กร (Enterprise content management system,ECM) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการจัดการทรัพย์สินดิจิตอล (Digital asset management system,DAM) นอกจากนี้ยังมีหัวข้อที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์อีก เช่น ระบบจัดการเก็บเอกสารด้วยคอมพิวเตอร์ (Document imaging system) การจัดการลำดับงาน (Workflow system) และระบบการเก็บบันทึก (Records management system)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)